โกงฮั้วประมูลคดีรถดูดโคลน 5 จังหวัด ใกล้ถึงมือ ป.ป.ช.แล้ว
- ที่ประชุม บก.ปปป. ทุจริตฮั้วประมูลคดีรถดูดโคลน พร้อมส่งข้อมูลให้ ป.ป.ช. ล็อตสองแล้ว 5 จังหวัด ส่วนจังหวัดอื่นที่ยังไม่เข้ามาร้องทุกข์กล่าวโทษเตรียมส่งเรื่องให้ ศอตช. ดำเนินการต่อ
วันนี้ (9 เม.ย.) เวลา 13.30 น. ที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) ศูนย์ราชการอาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ พล.ต.ต.กมล เหรียญราชา ผบก.ปปป. เป็นประธานการประชุม “โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ” หรือทุจริตฮั้วประมูลคดีรถดูดโคลน โดยมี พ.ต.อ.จักร เพ็งสาธร รอง ผบก.ปปป. พ.ต.อ.วรายุทธ สุขวัฒน์ รอง ผบก.ปปป. และตัวแทน 10 หน่วยงาน อาทิ คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), สำนักงานป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.), กองทัพภาคที่ 1, สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), กรมสรรพากร, กรมบัญชีกลาง, กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.), กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) และ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.)
พล.ต.ต.กมล เปิดเผยหลังการประชุม ว่า วันนี้เป็นการประชุมความคืบหน้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามกลุ่มเป้าหมายและทำการสืบสวนหาพยานหลักฐานตามเป้าหมายแต่ละจุด ก่อนรวบรวมข้อมูลส่ง ป.ป.ช. หลังจากได้ส่งหนังสือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ในล็อตสอง จำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรสาคร พิษณุโลก ระยอง ศรีสะเกษ เพชรบูรณ์ สิงห์บุรี สมุทรปราการ และ นนทบุรี
พล.ต.ต.กมล เผยอีกว่า ขณะนี้มีผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบหมายให้ตัวแทนเข้ามาร้องทุกข์กล่าวโทษแล้ว 5 จังหวัด ประกอบไปด้วย เพชรบูรณ์ สมุทรปราการ ระยอง นนทบุรี และ พิษณุโลก ส่วนจังหวัดอื่นที่ยังไม่เข้ามาร้องทุกข์กล่าวโทษจะส่งเรื่องให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ดำเนินการตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 104/2557 เรื่อง การกำกับดูแลการใช้จ่าย งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ฉบับที่ 69/2557 เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ เพื่อให้การบริหารราชการของ คสช. ในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชน รวมทั้งเพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมและผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ กรณีเพิกเฉยต่อการทุจริตพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
“ทั้งนี้ จังหวัดที่มีการแจ้งความร้องทุกข์แล้วจะดำเนินการกับผู้กระทำความผิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกผู้บริหารหน่วยงานท้องถิ่น และ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการประมูล กลุ่มที่สอง บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประมูลที่มีส่วนกระทำความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ฮั้วประมูล สำหรับเรื่องการจ่ายสินบนเจ้าหน้าที่นั้นอยู่ระหว่างขยายผลกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ พนักงานสอบสวนจะทำสำนวนเพื่อให้เสร็จทันกรอบ 30 วัน เพื่อส่ง ป.ป.ช. ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป” พล.ต.ต.กมล กล่าว
วันนี้ (9 เม.ย.) เวลา 13.30 น. ที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) ศูนย์ราชการอาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ พล.ต.ต.กมล เหรียญราชา ผบก.ปปป. เป็นประธานการประชุม “โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ” หรือทุจริตฮั้วประมูลคดีรถดูดโคลน โดยมี พ.ต.อ.จักร เพ็งสาธร รอง ผบก.ปปป. พ.ต.อ.วรายุทธ สุขวัฒน์ รอง ผบก.ปปป. และตัวแทน 10 หน่วยงาน อาทิ คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.), สำนักงานป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.), กองทัพภาคที่ 1, สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), กรมสรรพากร, กรมบัญชีกลาง, กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.), กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) และ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.)
พล.ต.ต.กมล เปิดเผยหลังการประชุม ว่า วันนี้เป็นการประชุมความคืบหน้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามกลุ่มเป้าหมายและทำการสืบสวนหาพยานหลักฐานตามเป้าหมายแต่ละจุด ก่อนรวบรวมข้อมูลส่ง ป.ป.ช. หลังจากได้ส่งหนังสือให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ในล็อตสอง จำนวน 10 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรสาคร พิษณุโลก ระยอง ศรีสะเกษ เพชรบูรณ์ สิงห์บุรี สมุทรปราการ และ นนทบุรี
พล.ต.ต.กมล เผยอีกว่า ขณะนี้มีผู้ว่าราชการจังหวัดได้มอบหมายให้ตัวแทนเข้ามาร้องทุกข์กล่าวโทษแล้ว 5 จังหวัด ประกอบไปด้วย เพชรบูรณ์ สมุทรปราการ ระยอง นนทบุรี และ พิษณุโลก ส่วนจังหวัดอื่นที่ยังไม่เข้ามาร้องทุกข์กล่าวโทษจะส่งเรื่องให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ดำเนินการตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 104/2557 เรื่อง การกำกับดูแลการใช้จ่าย งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ฉบับที่ 69/2557 เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ เพื่อให้การบริหารราชการของ คสช. ในการดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชน รวมทั้งเพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมและผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยรวมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุจริตประพฤติมิชอบ กรณีเพิกเฉยต่อการทุจริตพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
“ทั้งนี้ จังหวัดที่มีการแจ้งความร้องทุกข์แล้วจะดำเนินการกับผู้กระทำความผิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกผู้บริหารหน่วยงานท้องถิ่น และ คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการประมูล กลุ่มที่สอง บริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประมูลที่มีส่วนกระทำความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ฮั้วประมูล สำหรับเรื่องการจ่ายสินบนเจ้าหน้าที่นั้นอยู่ระหว่างขยายผลกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ พนักงานสอบสวนจะทำสำนวนเพื่อให้เสร็จทันกรอบ 30 วัน เพื่อส่ง ป.ป.ช. ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป” พล.ต.ต.กมล กล่าว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น