รู้จักภาวะชัตดาวน์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ศึกชิงนโยบายงบประมาณที่หยุดพญาอินทรีย์

                           สภาวะชัตดาวน์ของรัฐบาลสหรัฐฯหรือ Government Shutdownครั้งนี้  และศึกด้านนโยบายของสองฝ่ายระหว่างรีพับลิกัน และเดโมแครตจะจบลงอย่างไร สภาคองเกรสจะปลดล็อคงบประมาณประจำปีออกมาได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าติดตาม
us 1
20 มกราคม 2561 นอกจากจะเป็นวันครบรอบหนึ่งปีการดำรงตำแหน่งของโดนัลด์ ทรัมป์ ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกายังเป็นครั้งแรกของรัฐบาลทรัมป์ที่สหรัฐฯเกิดสภาวะชัตดาวน์ของรัฐบาลสหรัฐฯหรือที่เรียกว่า Government Shutdown เนื่องจากสภาคองเกรสไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายงบประมาณรายจ่ายได้ทันเที่ยงคืนของวันที่ 20  ม.ค. (ซึ่งตรงกันเที่ยงวันของวันเสาร์ที่ 20 เวลาประเทศไทย) ทำให้หน่วยงานรัฐบาลไม่ได้รับงบประมาณสำหรับการดำเนินการ ต้องเข้าสู่ภาวะชะงักงัน
ผ่านไป 1 วันหลัง เกิดภาวะที่เรียกว่า Government Shutdown ปรากฎการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดในระบบการปกครองของสหรัฐฯ เพราะที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์ในลักษณะแบบนี้มาแล้วถึง 17 ครั้ง (เริ่มครั้งแรกปี ค.. 1977 ครั้งที่ยาวนานที่สุดคือสมัย ประธานาธิบดี บลิน คลินตัน นานที่สุดถึง 21 วันนับจากวันที่ 16 ธันวาคม 1995 ถึง 5 มกราคม 1996) ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 18  ย้อนกลับไปเมื่อเดือน .ปี 2556 รัฐบาลของโอบามาก็เจอกับภาวะนี้ ตอนนั้น หน่วยงานรัฐฯต้องปิดชั่วคราวเป็นระยะเวลา 16 วันนับจากวันที่ 30 .. 2556 ถึง 17 .. 2556 ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของชาวอเมริกันต่อตัวโอบามา และพรรคเดโมเครตอยู่มาก 
Government Shutdown คืออะไร 
เป็นภาวะที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ยุติการจ่ายงบประมาณให้กับหน่วยงานต่าง  เป็นการชั่วคราว ยกเว้นหน่วยงานหรือบริการที่สำคัญเท่านั้น โดยหน่วยงานสำคัญที่ว่านี้ อาทิ น่วยงานด้านสาธารณสุข สำนักงานสภาพอากาศแห่งชาติ บริการไปรษณีย์ กองทัพ หน่วยจัดการจราจรทางอากาศ เป็นต้น และเมื่อรัฐบาลยุติการจ่ายงบประมาณให้หน่วยงานบางหน่วยแล้ว ก็จะทำให้หน่วยงานนั้นต้อง "ปิด" ตัวลงชั่วคราว เพื่อรองรับวิกฤตงบประมาณที่เกิดขึ้น จนกว่าจะได้รับงบประมาณจัดสรรมาสนับสนุน เพื่อให้หน่วยงานดำเนินการหรือเปิดให้บริการต่อไปได้
สำหรับสาเหตุของภาวะหน่วยงานรัฐบาลปิดตัวนั้น มีจุดเริ่มต้นโดยตรงจากการที่วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ มีความเห็นไม่ลงรอยกัน เมื่อวุฒิสภามีมติคัดค้านเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี ก็ทำให้สภาคองเกรสไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ และเมื่อความขัดแย้งนี้ยังคงยืดเยื้อและดำเนินมาเรื่อย  จนถึงช่วงครบกำหนดช่วงงบประมาณ หรือช่วงเส้นตายแล้วก็ยังคงไม่ได้ข้อสรุป งบประมาณจึงไม่ได้รับการอนุมัติไปยังหน่วยงานราชการหลายหน่วย ทำให้พนักงานในหน่วยงานนั้นต้องพักงานและไม่ได้รับเงินค่าจ้างในช่วงพักงานนี้
ส่วนหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบจากภาวะชัตดาวน์นี้ ก็คือหน่วยงานราชการที่ไม่จำเป็นต่าง  เช่น สวนสัตว์ ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ พิพิธภัณฑ์ อุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ พนักงานจำนวนประมาณ 850,000 คน (0.5% ของกำลังแรงงานสหรัฐฯในตำแหน่งที่ไม่จำเป็นจากกระทรวงต่าง  เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ถูกพักงาน และไม่ได้รับเงินเดือน จนกว่าสภาคองเกรสจะตกลงกันได้ 
               ชัตดาวน์ของรัฐบาลทรัมป์มีเรื่องอะไรบ้าง
สาเหตุใหญ่ๆ ที่สภาคองเกรสไม่สามารถหาข้อสรุปได้ทันเวลา เพราะความเห็นของสองฝั่ง(ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านไม่ตรงกัน โดยฝ่ายทรัมป์(รีพับลิกันต้องการสนับสนุนการยกเลิกงบประมาณในโครงการดาก้า( Deferred Action for Childhood Arrivals program-DACA) ซึ่งเป็นโครงการในสมัยของบารัค โอบาม่า โครงการนี้มีขึ้นเพื่อคุ้มครองเยาวชนที่ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายให้มีโอกาสได้รับการศึกษา รวมไปถึงการที่ทรัมป์ต้องการงบไปสร้างกำแพงกั้นชายแดนเม็กซิโกด้วย ทำให้การโหวตเพื่อผ่านงบประจำปีต้องชะงักลง
ถึงแม้ว่าก่อนหน้านั้น สภาล่างหรือ สภาผู้แทนราษฏรสหรัฐจะมีมติเห็นชอบผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวในช่วงกลางคืนวันพฤหัสบดีที่ 18 ที่ผ่านมาด้วยคะแนนเสียง 230 ต่อ 197  แต่เมื่อร่างฉบับนี้เข้าสูงสภาคองเกรสหรือที่เรียกว่าสภาสูงกลับถูกโหวตตกไป
เนื่องจากการจะผ่านร่างฉบับนี้ได้ต้องการใช้ 60 เสียง ซึ่งปรากฏว่ามีผู้โหวตไม่เห็นด้วย 50  เสียงจากฝ่ายเดโมแครต  45เสียงและอีกห้าเสียงจาก รีพับลิกันเอง แต่ทั้งนี้ก็มีสมาชิกวุฒิสภาฝ่ายเดโมแครตซึ่งมาจากรัฐอนุรักษ์นิยมโหวตเอาด้วย 5 เสียงแต่นั่นไม่เพียงพอที่จะทำให้รัฐบาลทรัมป์ผ่านร่างงบประมาณไปได้
ชัตดาวน์ครั้งก่อนส่งผลอะไรต่อเศรษฐกิจ สังคมสหรัฐฯบ้าง
ในการชัตดาวน์สมัยโอบาม่า  16  วัน ส่งผลให้ดัชนีการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐในไตรมาสสุดท้ายของปี 2013 (.. 2556 ) ลดลง  0.2-0.6เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ยังส่งต่อการเรียกคืนเงินภาษีรวมเกือบ 4 พันล้านดอลลาร์เป็นไปด้วยความล่าช้า โครงการด้านโภชนาการสำหรับสตรีทารกและเด็กไม่ได้รับเงินสนับสนุน การทำงานด้านการตรวจสอบ คุ้มครองสิ่งแวดล้อมต้องหยุดชะงัก 1,200 แห่ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้อนุมัติยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ล่าช้าสวนสาธารณะแห่งชาติปิดตัวส่งผลให้ผู้บริโภคสูญเสียรายได้ 500 ล้านดอลลาร์จากการท่องเที่ยว  นั่นคือหนึ่งในบางส่วนที่ได้รับผลกระทบจากการชัจดาวน์ในยุคของโอบาม่า  
               ปลดล็อคงบประมาณ หนทางเดียวหยุดภาวะชัตดาวน์ 
การจะยุติภาวะชัตดาวน์ได้อาศัยแค่สิ่งเดียวคือการผ่านร่างงบประมาณประจำปีออกมา นั่นหมายความว่าสภาคองเกรส สามารถทำได้คือ 1) ผ่านงบประมาณในรูปแบบแพ็คเกจเดียวกันทั้งหมด  11 โครงการ 2) ผ่านงบประมาณที่เรียกว่า “continuing resolution” (CR) ซึ่งจะให้เงินสนับสนุนแก่รัฐบาลในระดับเดียวกับที่ได้รับในปัจจุบัน (คือก่อนจะมีการขออนุมัติงบประมาณใหม่) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการใช้มาตรการนี้จะเป้นการซื้อเวลาในการเจรจางบประมาณจริงที่ต้องการ หมายความว่าออกงบเพื่อไม่ให้ประเทศอยู่ในภาวะชัตดาวน์ และระหว่างนั้นก็เจรจาไปด้วย ซึ่งที่ผ่านมาสภาคองเกรสเคยใช้มาตรการแบบนี้แล้วตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่เเล้ว ซึ่งตอนนั้นก็มีการคาดการณ์ว่าจะเจอภาวะชัตดาวน์ 
ส่วนข้อเสนอที่  3) คือ เอาสองวิธีด้านบนมารวมกัน เรียกว่า "CRomnibus" โดยให้ผ่านงบประมาณชั่วคราวและเพิ่มระยะเวลาเส้นตายในการเจรจาออกไปอีกโดยแบ่งตามหน่วยงาน เช่นงบประมาณที่ให้กับกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) และขณะเดียวกันก็ให้เงินกับส่วนอื่นๆ ไปก่อน 
แต่อย่างไรก็ตาม ความคิดการผ่านงบประมาณระยะสั้นแบบนี้ไปก่อนดูจะไม่ง่ายนัก เพราะในการโหวตล่าสุด ฝ่ายเดโมแครตยืนยันไม่เอาด้วย โดยเฉพาะในประเด็นผู้อพยพ นักวิเคราะห์ก็มองว่า ไม่ว่าจะอย่างไร เดโมแครตจะไม่มีทางลงคะแนนเสียงเห็นด้วยแน่นอนหากไม่มีโครงการ DACA ไม่อยู่ในการพิจารณางบครั้งนี้ ซึ่งนั่นหมายความว่าต่างฝ่ายต่างจ้องจะเอาชนะต่อกันดังนั้นโอกาสที่ชัตดาวน์ครั้งนี้จะยืดเยื้อไปอีกหลายวันจึงเป็นไปได้สูง 
เปิดศึกโทษกันไปมาระหว่างรีพับลิกันกับเดโมแครต 
แน่นอนว่าในสภาคองเกรส ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นไม่ตรงกัน จนนำมาสู่การโทษกันไปมาในภาวะที่เกิดการชัตดาวน์ อันส่งผลกระทบต่อคนสหรัฐฯรวมไปถึงนักท่องเที่ยวด้วย เพราะเมื่อหน่วยงานรัฐไม่ทำงานการเดินเรื่องต่างๆ ย่อมหยุดชะงัก เช่นถ้าคุณจะไปขอวีซ่าสหรัฐฯในช่วงนี้ก็ให้ทำใจได้เลย เพราะไม่มีใครทำงานให้คุณแน่นอน  หรือแม้กระทั่งการเก็บขยะจากหน้าบ้านคุณเองก็ยุติชะงักเพราะไม่มีเงินไปจ้างนั่นเอง ดังนั้นผลกระทบเหล่านี้ ผู้แทนประชาชนในสภาจึงต้องเปิดศึกโทษกันว่าเป็นเพราะฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ที่ทำให้เกิดเรื่อง
ทางฝั่งทรัมป์เองออกมาทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวหลังไม่สามารถผ่านร่างงบได้ทันเวลาว่า เรื่องทั้งหมดนี้เป็นเพราะเดโมแครต ด้านโพลของซีเอ็นเอ็น ซึ่งออกก่อนชัตดาวน์พบว่าครึ่งหนึ่งของคนสหรัฐฯ ระบุว่าพวกเขาจะโทษตัวทรัมป์(21%) ไม่ก็โทษวุฒิสมาชิกของพรรครีพับลิกัน (26%) ขณะเดียวกัน 31% ระบุว่า พรรคเดโมแครตต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
ขณะที่ทรัมป์และตัวแทนของเขาเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเป็น "Schumer shutdown" ซึ่งหมายถึงนาย Chuck Schumer วุฒิสมาชิก ผู้นำฝ่ายเสียงข้างน้อยพรรคเดโมแครตจากนิวยอร์ก ต่อมาทางนาย Schumer ออกมาโต้กลับว่า ทั้งหมดเป็นเพราะทรัมป์ และขอเรียกว่านี่คือ "Trump shutdown"
นักวิเคราะห์ก็มองว่า รีพับลิกันซึ่งรู้อยู่เเล้วว่าประเด็นเรื่องของDACA จะคือไม้เด็ดที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เพราะยังไงพรรคเดโมแครตไม่มีวันโหวตผ่านงบแน่นอน หากโครงการนี้ต้องยุติลง แต่ทรัมป์เองก็ยังคงดื้อดันที่จะไม่เอานโยบายเกี่ยวกับผู้อพยพนี้เเล้วทั้งยังผรุสวาทว่า “shithole” ในที่ประชุม ซึ่งไม้เด็ดนี้แหละที่เราต้องรอดูว่ารัฐบาลโดยการนำของทรัมป์จะไปในทางไหน ไม่เช่นนั้น สหรัฐฯก็จะชัตดาวน์แบบนี้ไปเรื่อยๆ และแน่นอนว่าย่อมไม่เกิดผลดีต่อประเทศ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ดูชัดๆ จัดซื้อรถดูดสิ่งปฏิกูล อปท.16 แห่ง คันละ 14-18.9 ล. เอกชนกลุ่มเดียวกัน

ประมวลภาพหุ่นล้อการเมือง ฟุตบอล จุฬา-ธรรมศาสตร์ หุ่นยักษาโผล่ เขียนข้อมือ'คืนเพื่อนแล้ว'

ไม่ใช่แค่รวยผิดปกติ!ป.ป.ช.สอบ‘ระพิพรรณ’ ยื่นบัญชีเท็จ-ซุกทรัพย์สินด้วย